วันอาทิตย์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2559

Beliefs about the cap in the past.

           




           หมวก ทุกคนก็คงรู้จักและรู้ถึงวิธีใช้สอย และประโยชน์ของหมวกนั้นมีมากมาย เช่นใช้สำหรับบังแสงแดดอันร้อนแรงของแสงอาทิตย์ บางคนก็ใช้หมวกบอกเป็นสัญลักษณ์ประจำกลุ่ม บอกถึงตำแหน่งหน้าที่การงานของอาชีพนั้นๆ เช่น พยาบาล ทหาร ตำรวจ และพ่อครัว เป็นต้น รวมไปถึงในปัจจุบันได้มีหมวก มีแบบมากมายหลายรูปแบบ ให้ได้เลือกสวมใส่กัน แล้วแต่ความต้องการใช้งานของแต่ละบุคคล แต่จะมีกี่คน ที่จะรู้ว่าที่มาของหมวกนั้นเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยไหน และรูปทรงของหมวกในแต่ละยุคเป็นอย่างไรกันบ้าง

            หมวก ลักษณะเป็นคำนาม หมายถึง เครื่องสวมศีรษะมีรูปต่าง ๆ เพื่อเป็นเครื่องประดับหรือกันแดดกันฝนเป็นต้น (ที่มา : พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน)

            ถ้าจะให้พูดถึงหมวกในยุคแรกๆ นั้นหมวกยังไม่มีและเป็นที่รู้จักซึ่งในอตีดหมวก ได้ถูกทำขึ้นมาจากหนังของสัตว์ แล้วนำเอามาคลุมหัวไว้เพื่อปกป้องอันตรายต่างๆเช่นแสงแดด ความร้อน ฝน ถ้าจะให้เรียกว่าหมวกก็คงจะยังไม่ได้ เพราะรูปทรงคงจะไม่เหมือนหรือคล้ายกับหมวกในสมัยนี้เท่าที่ควร

              อาณาจักรของกรีกในสมัยโบราณถือได้ว่าเป็นต้นกำเนิดของหมวกในยุคแรกๆ ซึ่งก็เรียกว่า Pileus เป็นหมวกที่มีรูปทรงคล้ายสามเหลี่ยที่คลุมกับศีรษะของมนุษย์มากกว่าการนำผ้ามาคลุมไว้บนศีรษะ ต่อมา The Phrygian cap

 The Phrygian cap 
Pileus
ถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งการมีความเป็นอิสรภาพ ที่ชาวกรีกและชาวโรมัน ได้ให้กับทาสเพื่อให้ทาสเหล่านั้นได้ถูกปลดปล่อยเป็นอิสระ และหมวก The Peatasos เป็นหมวกที่มีปีกใบแรก ซึ่งได้ถูกคิดค้นโดยชาวกรีกโบราณนั้นเอง หมวกทั้ง 3 ชนิดนี้มีลักษณะไม่ค่อยจะแตกต่างกันมากเท่าไรหนัก และถูกออกแบบสำหรับไว้ให้ผู้ชายได้สวมใส่เท่านั้น

              ต่อมาเมื่อมนุษย์รู้จักการให้ความหมายของสิ่งต่างๆ “หมวก” จึงกลายมาเป็นสัญญะ (Semiotics) ของหลายสิ่งหลายอย่าง บางคนใส่หมวกเพื่อการเฉลิมฉลอง บางคนใส่เพื่อกันแดดกันฝนตามหน้าที่ของหมวกแต่ดั้งเดิม ขณะที่บางคนใส่หมวกเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของการนับถือศาสนา และบางทีหมวกก็กลายเป็นเครื่องแสดงถึงอำนาจ สถานะทางสังคม เช่น หมวกทหาร ตำรวจ หรือสมัยก่อนที่ชนชั้นสูงนิยมใส่หมวก เพื่อแสดงถึงความทันสมัย

              ในยุคปัจจุบัน เราเห็นคนนิยมใส่หมวกเป็นแฟชั่นมากขึ้น แม้จะอยู่ในที่ร่มอย่างห้างสรรพสินค้า ก็ยังใส่หมวก ทั้งๆที่ไม่มีแดดมีฝนให้ต้องระวังแม้แต่น้อย บางคนใส่หมวกผ้าแบบที่ใช้กันหนาว อันนี้ก็อาจจะพอเข้าใจได้ว่า เพราะในห้างแอร์อาจจะเย็น เลยต้องใส่หมวก ทั้งหมดก็เป็นเรื่องของปัจเจกที่แล้วแต่จะคิดปรุงแต่งกันไป

               แต่ “หมวก” ที่จะพูดถึงวันนี้ เป็นหมวกในเชิงความคิด จิตวิทยา ที่นำมาจากแนวคิดเรื่อง “Six Thinking Hats” ของ ดร. เอ็ดเวิร์ด เดอ โบโน เจ้าของทฤษฎี Lateral Thinking หรือการคิดนอกกรอบ ซึ่งน่าจะเข้ากันได้กับสถานการณ์ปัจจุบัน

               แนวคิดเรื่อง Six Thinking Hats นี้ เป็นแนวคิดที่ว่าด้วยการมีมุมมองแบบ “รอบ ด้าน” โดยให้ความสำคัญกับเรื่องของความคิดสร้างสรรค์ ที่นำไปสู่การวางแผนเชิงกลยุทธ์เพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆตั้งแต่ระดับปัจเจก กลุ่ม ไปจนถึงสังคมในวงกว้าง

               เดอ โบโน บอกว่า ทุกเช้าที่คนเราตื่นนอน สิ่งแรกที่เราทำคือ “คิด” จะคิดบวก คิดลบ คิดน้อย คิดมาก ก็คือ “คิด” แนวคิดหมวก 6 ใบ ของเขาไม่มีอะไรมาก เพียงแค่แนะเทคนิคในการจัดระบบระเบียบการคิดให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นเท่านั้น และเขาเชื่อว่า ความคิดของมนุษย์เหมือนหมวก 6 ใบ แต่ละใบที่สวมใส่เป็นเสมือนทางเลือกที่เป็นไปได้ ในแต่ละเรื่อง แต่ละเหตุการณ์มาดูกันเลยว่าหมวกทั้ง 6 ใบ มีอะไรบ้าง...

เดอ โบโน ใช้สี 6 สี แทนความหมายของหมวกทั้ง 6 ใบ


  • ใบแรก หมวกสีขาว (White Hat) เป็นหมวกที่สื่อความหมายถึงความเป็นกลาง ที่มีฐานความคิดอิงอยู่กับข้อมูล ข้อเท็จจริง เป็นหมวกที่ปราศจากความรู้สึกและความเห็น



  • ใบที่สอง หมวกสีแดง (Red Hat) หมวกใบนี้ เป็นหมวกที่ใส่เพื่อแสดงอารมณ์ ความรู้สึก ตามสีของหมวก ซึ่งอารมณ์เหล่านี้ บางครั้งก็ไม่จำเป็นที่จะต้องมีเหตุผลประกอบ แค่ตอบโจทย์ความรู้สึกของตัวเองได้ว่า ชอบ ไม่ชอบ ดี หรือไม่ดี



  • ใบที่สาม หมวกสีดำ (Black Hat) เป็นหมวกที่แสดงถึงความโศกเศร้าและการปฏิเสธ หมวกสีดำ เป็นหมวกที่ใช้ในเวลาที่ต้องคิดถึงอุปสรรค ปัญหา และเหตุผลของการเกิดปัญหานั้น หมวกใบนี้เป็นหมวกที่ช่วยให้เรามีความคิดที่รอบคอบมากขึ้น เช่น ควรทำหรือไม่ควรทำ เหมาะสมหรือไม่เหมาะสม เป็นความคิดในเชิงระมัดระวังต่อสิ่งต่างๆ เป็นหมวกที่ให้ความคิดในเชิงเหตุผลอย่างลึกซึ้ง



  • ใบที่สี่ หมวกสีเหลือง (Yellow Hat) สีเหลืองเป็นสีของความสว่าง สดใส เมื่อสวมหมวกใบนี้ จะหมายถึงการคิดแบบมองเห็นจุดดี จุดเด่น โอกาส ความสำเร็จ เป็นการคิดเชิงบวก การมองโลกในแง่ดี และการคาดการณ์ที่มีความหวังต่อสิ่งดีๆที่จะเกิดขึ้น เป็นหมวกที่แสดงถึงการมองหาทางออกและทางเลือกอย่างมีความหวัง



  • ใบที่ห้า หมวกสีเขียว (Green Hat) เป็นหมวกแห่งความอุดมสมบูรณ์ ความคิดสร้างสรรค์ ความคิดเมื่อสวมหมวกสีเขียว จะเป็นความคิดใหม่ๆที่สามารถทำได้ เปลี่ยนแปลงอะไรใหม่ๆได้ เป็นความคิดเชิงสัญลักษณ์ของการเติบโต งอกงาม และบางครั้งก็เป็นหมวกที่ทำให้เราเปลี่ยนวิธีคิดจากแบบเดิมๆมาสู่ความคิดแบบใหม่ๆ หรือ แม้แต่การคิดนอกกรอบ ต่างจากแนวทางเดิมๆ



  • ใบสุดท้าย หมวกสีน้ำเงิน (Blue Hat) จริงๆแล้วเป็นหมวกในอุดมคติที่มนุษย์ต้อง การอย่างมากๆ เพราะเป็นหมวกใบเดียวที่ให้ความรู้สึกสงบ เย็น ซึ่งจะว่าไปก็เปรียบเสมือนหมวกที่ใส่เพื่อบริหารกระบวนการคิด จัดระเบียบวิธีคิด เป็นหมวกของความคิดรวบยอดเพื่อยุติปัญหา ความขัดแย้ง ความไม่ชัดเจนในเรื่องต่างๆ


เหมือนกับที่ในทางพระพุทธศาสนา บอกว่า เราจะคิดอะไรได้ ก็เมื่อเรา “หยุด” คิดนั่นละ

ถ้าพิจารณาให้ลึกซึ้งลงไปอีก จากแนวคิดหมวก 6 ใบนี้ จะเห็นว่า จริงๆแล้วในแต่ละวันเราใส่หมวกทั้ง 6 ใบนั่นละ เพียงแต่ใส่ทีละใบในแต่ละเวลา

สำคัญที่สุด คือ ในแต่ละเวลาของการคิดภายใต้หมวกแต่ละใบนั้น ต้องชัดเจนว่า ปราศจากซึ่ง “อัตตา” หรือ Ego ซึ่งนำไป สู่ความคิดที่มีอคติต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง

คนที่โอ้อวด และอหังการ ย่อมสามารถใช้การกระทำและคำพูด ด่าทอ โจมตีและ ต่อต้านผู้อื่นได้อย่างง่ายๆ จนมองไม่เห็นข้อเท็จจริง และทางออกของปัญหา

งานหลายอย่างที่ไม่สำเร็จ หรือแม้จะสำเร็จแต่ก็ไม่มีประสิทธิภาพ นั่นอาจเป็นเพราะเราใส่หมวกหลายใบในเวลาเดียวกัน หรือใส่หมวกใบที่ไม่เหมาะ ไม่ควร กับเรื่องราว เหตุการณ์ สถานการณ์นั้นๆ

ถ้าอยากเห็นทางออก ลองหันกลับมาดูตัวเองในกระจกว่า วันนี้หมวกใบที่เราใส่ เป็นหมวกสีไหน เหมาะสมหรือไม่เหมาะสมกับวิถีที่ควรจะเป็นหรือไม่



2 ความคิดเห็น: